ฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ผศ.ดร.ปรีชาวุมิ อภิระติง รองคณบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการศิลปกรรมร่วมสมัยอาเซียน ตอน โควิด-19 ( The ASEAN Contemporary art workshop ) ในระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน 2564 ผ่านระบบ VDO Conference ผ่านทาง Zoom Application ซึ่งเป็นมาตรการเฝ้าระวังและเว้นระยะห่างการรวมตัวกันป้องการการแพร่ระบบจากไวรัส Covid – 19 ในขณะนี้
สำหรับกิจกรรมในวันแรก (7 กันยายน 2564) ได้มีพิธีการเปิดผ่านทางระบบ Zoom Application ซึ่ง ผศ.ดร.ปรีชาวุฒิ อภิระติง รองคณบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้กล่าวรายงานต่อประธานในพิธีถึงความเป็นมาของโครงการ จากนั้น ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ประธานในพิธี ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการและกล่าวเปิดงาน จากนั้นในเวลา 10.00 น.ได้มีการบรรยายในหัวข้อ “ดุจปราการห้ามห่าอาเพศ: โรคระบาด อำนาจ และศิลปะ”วิทยากรโดย อาจารย์ ดร.สายันห์ แดงกลม ส่วนในภาคบ่ายมีการบรรยายเรื่อง ผลกระทบจากโรคระบาดที่มีต่อวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจในปัจจุบัน วิทยากรโดย นายปณชัย ชัยจิรรัตน์ และนางสาวปุญญิศา ศิลปะรัศมี ภัณฑารักษ์จาก NOIR ROW ART SPACE ดำเนินรายการโดย อ.ดร.ภัทร คชภักดี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ล่ามแปลโดย นายจอห์นมาร์ก เบลลาโด
สำหรับกิจกรรมในวันที่ 2 และ 3 ของงาน เป็นการปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงาน (ตามสถานที่พำนักของศิลปิน) โดยศิลปินที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานตามหัวข้อของโครงการ คือ ตอน โควิด-19 พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานในสถานการณ์โรคระบาดโควิด –19 ถึงความยุ่งยาก ความซับซ้อน การปรับตัว ตลอดจนสิ่งที่ต้องทำเมื่อต้องต่อสู้กับสถานะการณ์เช่นนี้
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมครั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ ความมั่นคงทางสังคมและวัฒนธรรม การสร้างสรรค์วัฒนธรรมร่วมสมัยทางด้านศิลปกรรม ทั้งทัศนศิลป์และออกแบบ ด้านดนตรีและการแสดงจากประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งเครือข่ายประชาชาติอื่น ๆ จากนอกภูมิภาคอาเซียน จะเป็นการบูรณาการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักวิชาการ ศิลปิน คณาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจทั่วไป ที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ทางด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย แนวคิด ทัศนคติในการสร้างสรรค์ ซึ่งปัจจุบันมีรูปแบบ วิธีหรือกระบวนการสร้างสรรค์ ที่หลากหลาย มีความน่าสนใจ มีการนำเสนอที่แปลกใหม่ โดยกระบวนการและผลลัพธ์จากงานสร้างสรรค์เหล่านี้ก่อให้เกิดคุณค่าทั้งในเชิงวิชาการ และคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์และพัฒนาการของงานศิลปกรรมร่วมสมัยในระดับภูมิภาค ระดับชาติ และนานาชาติ ที่สามารถนำมาบริหารจัดการด้านวิชาการการจัดการความรู้ (Knowledge Management)ทั้งในรูปแบบของชิ้นงานในการสะสม(Art Collection) และโดยการบันทึกกระบวนการสร้างสรรค์ของศิลปิน(Art Process Documentary) หรืออื่น ๆ เหล่านี้สามารถบริหารจัดการทั้งในระหว่างดำเนินกิจกรรมในโครงการ และหลังจากการดำเนินกิจกรรมในโครงการสิ้นสุดลงแล้ว ในรูปแบบของสื่อหรือฐานข้อมูลออนไลน์เป็นสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยเฉพาะทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) และการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เป็นฐานข้อมูลสารสนเทศสำหรับการคันคว้าวิจัยของนักศึกษา คณาจารย์ บุคคลชุมชนและสังคมทั่วไป